วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการค้นหาข้อมูลด้วย google

หลักพื้นฐานในการค้นหาข้อมูลด้วย Google
การค้นหาข้อมูลด้วย Google นั้นทำได้ไม่ยาก เพียงแค่พิมพ์หัวข้อค้นหา (ซึ่งเป็นคำหรือวลีที่อธิบายข้อมูลที่คุณต้องการค้นหาได้ดีที่สุด) ในกล่องข้อความ จากนั้นกดปุ่ม ‘Enter’ หรือคลิกที่ปุ่ม ‘Google Search’ จากนั้น Google ก็จะคืนผลลัพธ์ เป็นรายการของหน้าเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อค้นหาของคุณ โดยหน้าเว็บที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องที่ชัดเจนที่สุดจะปรากฏออกมาเป็นลำดับแรก
เคล็ดลับขั้นต้นที่จะช่วยให้คุณค้นหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้แก่
· การเลือกหัวข้อค้นหา
· การใช้ตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่
· การค้นข้อมูลอัตโนมัติด้วยฟังก์ชัน "and"
· การละคำทั่วไป
· การค้นหาคำใกล้เคียง
· การค้นหาทั้งวลี
· หัวข้อค้นหาที่ไม่ต้องการ
· ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย

การเลือกหัวข้อค้นหา
การเลือกหัวข้อค้นหาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้คุณค้นพบข้อมูลที่ต้องการ
เริ่มต้นด้วยตัวอย่างง่ายๆ สมมติว่าคุณอยากทราบข้อมูลทั่วไปของรัฐฮาวาย ลองใช้หัวข้อค้นหา Hawaii
แต่ตามปกติแล้วการใช้หัวข้อค้นหามากกว่าหนึ่งคำจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ถ้าคุณมีแผนอยากไปพักร้อนที่ฮาวาย หัวข้อค้นหาvacation Hawaii ย่อมให้ผลลัพธ์ดีกว่าการใช้หัวข้อค้นหาเพียง vacation หรือ Hawaii อย่างใดอย่างหนึ่ง และ vacation Hawaii golf อาจให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นไปอีก(หรือแย่ลงก็ได้ อันนี้แล้วแต่)

คุณอาจจะลองถามตัวเองว่าหัวข้อค้นหาที่คุณใช้นั้น ชัดเจนเพียงพอหรือไม่ การค้นหาโดยใช้หัวข้อค้นหา luxury hotels Maui ย่อมดีกว่าหัวข้อ tropical island hotels แต่จงเลือกหัวข้อค้นหาอย่างระมัดระวัง เพราะ Google จะค้นหาโดยยึดสิ่งที่คุณพิมพ์เป็นหลัก ดังนั้นหัวข้อ luxury hotels Maui น่าจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า really nice places to spend the night in Maui

การใช้ตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่
การค้นหาโดยใช้ Google นั้นจะถือว่าตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่มีค่าเท่ากัน ดังนั้น การค้นหาโดยใช้หัวข้อค้นหา george washington, George Washington และ gEoRgE wAsHiNgToN จะให้ผลลัพธ์เหมือนกัน

การค้นข้อมูลอัตโนมัติด้วยฟังก์ชัน and
ตามปกติแล้ว Google จะคืนผลลัพธ์เป็นหน้าเว็บที่มีหัวข้อค้นหาทุกคำเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องพิมพ์คำว่า “and” ระหว่างหัวข้อค้นหา อย่างไรก็ตาม ลำดับการพิมพ์หัวข้อค้นหามีผลต่อข้อมูลผลลัพธ์ ถ้าต้องการให้การค้นหาจำกัดแคบลงไปอีก ให้พิมพ์หัวข้อค้นหาเพิ่มลงไป เช่น หากต้องการหาที่พักร้อนในฮาวาย พิมพ์ vacation hawaii


การละคำทั่วไป
Google จะละคำทั่วไป เช่นคำว่า "where" และ "how" ออกจากการค้นหา เช่นเดียวกับตัวเลขตัวเดียวและตัวอักษรตัวเดียว เนื่องจากการใช้คำดังกล่าวด้วยอาจทำให้การค้นข้อมูลทำได้ช้าลง และไม่ทำให้ผลลัพธ์ออกมาดีขึ้น
ในกรณีที่ต้องการรวมคำดังกล่าวไว้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ คุณสามารถพิมพ์เครื่องหมาย + ไว้หน้าคำนั้น (อย่าลืมเว้นวรรคหน้าเครื่องหมาย +)
อีกวิธีหนึ่งคือทำการค้นหาแบบเป็นวลี โดยใส่เครื่องหมายคำพูด (“...”) ล้อมรอบหัวข้อค้นหาสองคำหรือมากกว่านั้น (เช่น "where are you")

การค้นหาคำใกล้เคียง
ในปัจจุบัน Google มีเทคโนโลยีการหารากศัพท์ โดย Google ไม่เพียงแต่ค้นหาหัวข้อที่คุณพิมพ์ลงไปเท่านั้น แต่ยังค้นหาคำใกล้เคียงกันอีกด้วย เช่นการค้นจากคำว่า pet lemur dietary needs จะทำให้ Google ค้นหาคำว่า pet lemur diet needs และอื่นๆ ที่คล้ายกันอีกด้วย

การค้นหาทั้งวลี
ในการค้นหาทั้งวลี คุณเพียงแต่ใส่เครื่องหมายคำพูด (“...”) ล้อมรอบวลีนั้น


การค้นหาด้วยวลีจะได้ผลมากกับชื่อเฉพาะ เช่น “George Washington”, เนื้อเพลง เช่น “the long and winding road” หรือคำคมเช่น “This was their finest hour”

หัวข้อค้นหาที่ไม่ต้องการ
ถ้าหัวข้อค้นหาของคุณมีหลายความหมาย (เช่น bass อาจมีความหมายเกี่ยวข้องกับปลาหรือดนตรีก็ได้) คุณสามารถระบุหัวข้อค้นหาโดยการพิมพ์เครื่องหมายลบ (-) หน้าความหมายที่ไม่ต้องการ (อย่าลืมใส่ช่องว่างหน้าเครื่องหมายลบ)
เช่น ค้นหาหน้าเว็บที่ไม่เกี่ยวกับดนตรี


และสุดท้าย "ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย"
หลังจากกรอกหัวข้อค้นหาเรียบร้อยแล้ว คุณอาจลองใช้ปุ่ม "ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย" (I’m Feeling Lucky) ซึ่งจะพาคุณไปยังหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อค้นหาที่ชัดเจนที่สุดทันทีโดยไม่แสดงหน้าจอผลลัพธ์

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การใส่สูตรคำนวณพื้นฐานใน Excel

ในบทนี้ จะเป็นการนำตัวอย่างสั้น ๆ ของการใช้โปรแกรม Excel ในงานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้กับงานของท่าน
การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
ในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ มักจะมีการถามคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบ เช่น เพศ อายุ รายได้ เป็นต้น การวิเคราะห์หาจำนวนผู้ตอบที่เป็นเพศชาย หรือเพศหญิง สามารถทำได้ง่ายโดยใช้ ฟังก์ชั่น Count และวิธีการจากบทที่แล้ว แต่ถ้าให้ผู้ตอบเติมตัวเลข ในการวิเคราะห์จะมีความซับซ้อนขึ้นบ้าง ดังนี้
สมมติว่า ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม มีดังนี้



จากข้อมูลข้างต้น เราต้องการหาคำตอบ ดังต่อไปนี้
แสดงจำนวนผู้ตอบ จำแนกตามช่วงอายุ
จำนวน ผู้ที่อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป และ มีเงินเดือน 20,000 บาทขึ้นไป
จากข้อมูลข้างต้น เราจะหาจำนวนของผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และมีเงินเดือนตั้งแต่ 20,000 บาท ขึ้นไป จะเห็นว่า มีเงื่อนไข 2 เงื่อนไขคือ อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป และอีกเงื่อนไขคือ รายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป เราจะใช้ฟังก์ชั่น DCOUNT เพื่อนับจำนวนที่มีหลายเงื่อนไข รูปแบบของ DCOUNT มีดังนี้
DCOUNT(database,field,criteria)
database คือตารางข้อมูลที่จะใช้ในฟังก์ชั่นนี้ จะระบุเป็นช่วง เช่น A5:D14
field คอร์ลัมข้อมูลที่จะนำมาใช้ในสูตรการคำนวน เริ่มจากคอร์ลัมน์ซ้ายสุด เป็น คอร์ลัมน์ที่ 1 ต้องการให้นับคอร์ลัมน์ใด ก็ระบุเลขที่ของคอร์ลัมน์นั้น criteria เงื่อนไขในการนับ

1. วิธีการใช้สูตรนับจำนวน DCOUNT มีดังนี้
เนื่องจากเงื่อนไขของเรามีสองเงื่อนไข คือ อายุ และเงินเดือน จึงต้องกำหนดเงื่อนไขไว้ใน Cell เสียก่อน เพื่อจะได้เรียกใช้ได้ภายหลัง ในช่อง B1:C2 ให้พิมพ์เงื่อนไข ดังนี้

2. พิมพ์ข้อมูลดังภาพข้างล่างนี้



3. ข้อมูล A4:D14 เป็นตารางข้อมูล ซึ่งจะต้องมีชื่อคอร์ลัมปรากฎอยู่ ในตัวอย่างนี้ คือ A4 ถึง D4
ในช่อง
4. B1:C2 เป็นเงื่อนไขในการนับจำนวน จะเห็นว่า มีชื่อคอร์ลัมน์ และเงื่อนไขในคอร์ลัมน์ จากตัวอย่างนี้ คือ ต้องการให้นับเฉพาะ ในช่องอายุ ให้มีอายุเท่ากับ 25 หรือ มากกว่า 25 หรือ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป ส่วนเงื่อนไขที่2 เป็นเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินเดือน ว่า ต้องการเฉพาะ เงินเดือนตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไปเช่นเดียวกัน จะต้องมีชื่อคอร์ลัมน์ และเงื่อนไขที่ต้องการ (ในที่นี้ ชื่อคอร์ลัมน์ คือ เงินเดือน และเงื่อนไข คือ >=20000)
5. เราจะใส่ผลที่ได้จากการนับ ตามเงื่อนไขที่กำหนด ใส่ลงในช่อง C18 คลิก

6. C18 เพื่อบอก Excel ว่า ต้องการนำผลที่ได้มาใส่ไว้ที่นี่
7. ไปที่เมนู Insert > Function... หรือ คลิกที่รูป บน formula bar จะเกิดหน้าจอให้เลือกฟังก์ชั่น
8.ไปที่ช่อง Or select a category ให้เลือก All เพื่อดูฟังก์ชั่นทั้งหมด จา่กนั้นจึงเลือกหา Dcount ในส่วน Select a function ดังภาพ


9. คลิก OK
10.จะเปิดหน้าต่าง ให้เติมค่าตัวเลือกต่าง ๆ ค่าที่เติมลงในช่องต่าง ๆ เหล่านี้ เราเรียกว่า parameters ให้เติมค่าต่าง ๆ ดังภาพ



Database คือตารางข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ จะบอกเป็นช่วง ในตัวอย่างนี้ ตารางข้อมูลอยู่ที่ A4:D14 การเลือกต้องให้ครอบคลุมหัวตาราง ซึ่งอยู่ที่ A4:D4 ด้วย
Field คือคอร์ลัมน์ที่จะนำมานับ ให้ใส่เป็นตัวเลขคอร์ลัมน์ที่เท่าไร ในตัวอย่างเราต้องการนับ คอร์ลัมน์ อายุ ซึ่งเป็นคอร์ลัมน์ที่ 3 (คอร์ลัมน์ 1 คือ เลขที่ คอร์ลัมน์ 2 คือ ชื่อ คอร์ลัมน์ 3 คือ อายุ คอร์ลัมน์ 4 คือ เงินเดือน)
Criteria คือเกณฑ์ในการนับ ในตัวอย่างนี้ เราได้บอกไว้แล้วที่ C1:B2 สำหรับ Database และ Criteria ถ้าไม่ต้องการพิมพ์เข้าไปโดยตรง อาจจะคลิกที่รูป และใช้เมาส์เลือกช่วงข้อมูลที่ต้องการ ก็ได้
11. เมื่อกดปุ่ม OK จะได้เท่ากับ 4 นั่นแสดงว่า มีคน จำนวน 4 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป และมีเงินเดือนตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป จำนวน 4 คน

การหาช่วงอายุ
จากข้อมูลเดิม จะเห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามกรอกอายุจริืง ในการนำผลไปวิเคราะห์มักจะวิเคราะห์เป็นช่วงอายุ เช่น อายุต่ำกว่า 25 ปี กี่คน อายุ ระหว่าง 25-29 ปี กี่คน เป็นต้น ตัวอย่างต่อไปนี้ จะเป็นการนำข้อมูลเดิมมาวิเคราะห์อายุ เป็นช่วง ๆ ดังนี้
อายุ น้อยกว่า 25 ปี
อายุ 25-29 ปี
อายุ 30-39 ปี
อายุ 40 ปี ขึ้นไป (ไฟล์ exercise_dcount_age.xls)
หลักการ
ใช้ฟังก์ชั่น Dcount เหมือนข้างต้น แต่กำหนดเงื่อนไขเสียใหม่ โดยกำหนดเงื่อนไขเป็นช่วง ๆ ตามต้องการ
วิธีการ
1.เปิด Sheet ใหม่
2.พิมพ์ข้อมูล A4:D14 หรือจะ Copy มาก็ได้
3.ในช่วง A16:D24 ให้พิมพ์เกณฑ์การนับ และส่วนที่จะรายงานผล ดังนี้




4.คลิกที่ C21 และพิมพ์ที่ Formular ดังนี้ =DCOUNT(A4:D14,3,A16:A17)
5.คลิกที่ C22 และพิมพ์ที่ Formular ดังนี้ =DCOUNT(A4:D14,3,A16:B16:C17)
6.คลิกที่ C23 และพิมพ์ที่ Formular ดังนี้ =DCOUNT(A4:D14,3,A16:A18:ฺB19)
7.คลิกที่ C24 และพิมพ์ที่ Formular ดังนี้ =DCOUNT(A4:D14,3,C18:C19)
8.จะเห็นว่า เราใช้สูตรเดียวกัน ต่างกันที่เงื่อนไขเท่านั้น ผลลัพธ์ที่ได้ คืิอ


การตัดเกรดนักเรียน(grading.xls)
คุณครูสามารถใช้โปรแกรม Excel ในการกรอกคะแนน และรวมคะแนน โดยไม่ต้องใช้เครื่องคิดเลข นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ Excel ทำอะไรได้อีกหลายอย่าง ตัวอย่างต่อไปนี้จะเป็นการใช้ Excel สำหรับตัดเกรดนักเรียน แบบอิงเกณฑ์ โดยการนำคะแนนไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ว่า คะแนนตกอยู่ในเกณฑ์ใด ควรจะได้เกรดอะไร
หลักการ
ใช้ฟังก์ชั่น Vlookup เปรียบเทียบข้อมูล ฟังก์ชั่น Vlookup จะนำข้อมูลจาก cell ใด cell หนึ่ง ไปเปรียบเทียบกับข้อมูลในตาราง และถ้าพบ ก็จะคืนค่าในคอร์ลัมน์ ทางด้านขวามือ ของค่าที่ถูกเปรียบเทียบในตาราง และสามารถระบุว่า จะให้คืนค่าจากคอร์ลัมน์ใด การเปรียบเทียบทำได้สองอย่างคือ เปรียบเทียบแบบเหมือนกันทุกประการ และเปรียบเทียบแบบใกล้เคียง
ฟังก์ชั่น Vlookup มีรูปแบบการใช้ ดังนี้


Vlookup (lookup_value,table_array,col_index_num,range_lookup)
lookup_value
คือค่าที่จะนำไปเปรียบเทียบ ในที่นี้คือคะแนนของนักเรียนแต่ละคน การอ้างถึงใช้ตำแหน่งของ Cell เช่้น A3
table_array
คือตารางข้อมูลที่จะใช้เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ ในที่นี้คือเกณฑ์ในการตัดเกรด เช่น คะแนนต่ำกว่า 50 ได้ 0 คะแนน 50-69 ได้ 1 เป็นต้น แต่ต้องเขียนอยู่ในรูปตาราง ในกรณีการตัดเกรด จะเป็นการเปรียบเทียบคะแนนแบบใกล้เคียง จะต้องมีการเรียงข้อมูล จากน้อยไปหามาก แต่ถ้าเป็นการเปรียบเทียบแบบเหมือนกันทุกประการ ก็ไม่จำเป็นต้องเรียงข้อมูลในตารางที่จะใช้เป็นเกณฑ์
col_index_num
เป็นตัวเลขตำแหน่งแถวที่จะคืนค่า ถ้าหากพบว่าเป็นไปตามเกณฑ์การเปรียบเทียบ คอร์ลัมน์แรกของตารางที่ใช้เป็นเกณฑ์การเปรียบเทียบคือ คอร์สัมนืที่ 1 ดังนั้น ค่าที่คืน จึงเป็นคอร์ลัมน์ที่ 2 หรือ 3 หรือ 4 ในกรณีที่ตารางมีหลายคอร์ลัมน์
range_lookup
มี 2 ค่า คือจริง หรือ TRUE และ เท็จ หรือ FALSE
ถ้าเป็นจริง หรือ TRUE คือต้องการให้เปรียบเทียบแบบใกล้เคียง นั่นคือ Excel จะนำค่ามาเปรียบเทียบกับค่าในตารางที่ใช้เป็นเกณฑ์ ถ้าไม่พบค่าที่เท่ากัน ก็จะถือเอาค่าตัวต่อไปที่ใกล้เคียงที่สุด ที่มีค่าน้อยกว่าค่าที่นำมาเปรียบเทียบ
ถ้าเป็นเท็จ หรือ FALSE คือต้องเป็นการเปรียบเทียบที่เหมือนกัน หรือ เท่ากันเท่านั้น
ถ้าไม่เติม จะถือว่ามีค่าเป็นจริง

วิธีการ
1.เปิดโปรแกรม Excel ใหม่ และพิมพ์ข้อมูลคะแนนนักเรียน ดังต่อไปนี้

2. ที่ E1:F6 ให้พิมพ์เกณฑ์ในการเปรียบเทียบ ดังนี้



เนื่องจากเป็นการเปรียบเทียบแบบใกล้เคียง การเปรียบเทียบจะใช้ ค่าที่ใกล้เคียงที่สุด ซึ่งน้อยกว่าค่าที่นำไปเปรียบเทียบ
สมมติว่า สุดา ได้คะแนน 58 เมื่อนำคะแนน 58 ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ จะเห็นได้ว่า ค่าที่ใกล้เคียงกับ 58 ซึ่งจะต้องเป็นค่าที่น้อยกว่า 58 ก็คือ 50 เพราะถึงแม้ว่าจะใกล้กับ 60 ก็ตาม แต่ 60 มีค่ามากกว่า 58 ด้งนั้น ในการเปรียบเทียบจึงใช้ค่า 50 เพราะเป็นค่าที่ใกล้เคียงกับ 58 มากที่สุดและมีค่าน้อยกว่า 58 ด้วย เมื่อดูเกรด ก็จะพบว่า ได้เกรดเป็น 1 เพราะในการสั่ง VLOOKUP เราใช้ค่้าทางด้านขวามือ ของค่าที่ได้จากการเปรียบเทียบ
ดังนั้น จากเกณฑ์ในตาราง แสดงว่า มีการตัดเกรด ดังนี้

คะแนนต่ำกว่า 50 ได้เกรด 0
50-59 ได้เกรด 1
60-79 ได้เกรด 2
80-89 ได้เกรด 3
90-100 ได้เกรด 4
3. ต่อไปจะคิดเกรดของ สมถวิล ให้คลิกที่ C2 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะนำเกรดมาแสดง
4. เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงตำแหน่ง เราจะตั้งชื่อตำแหน่งของตารางว่าเป็น criteria โดยทำดังนี้
1. ลากดำ E2:F6 (ไม่รวม ชื่อคอร์ลัมน์)
2. ไปที่ Insert > Name > Define...
3. พิมพ์ชื่อ criteria





4. คลิก Add และคลิก OK ตามลำดับ
5. ต่อจากนี้ไป เราจะอ้างถึงตำแหน่งที่เป็นตารางเกณฑ์การคิดเกรดว่าเป็น criteria
6. ที่ช่อง Formula bar ให้พิมพ์ดังนี้



$B2เป็นการอ้างถึงตำแหน่งข้อมูล ที่เป็นคะแนนของนักเรียน ในกรณีนี้ เนื่้องจากว่าคะแนนอยู่ในคอร์ลัมน์ B จึงอ้างอิงแบบ Absolute Referencing เพื่อไม่ให้ค่าเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการคัดลอกสูตร
criteriaคือข่วงตารางเกณฑ์ที่จะนำไปเปรียบเทียบ ตารางมี 2 คอร์ลัมน์ คอร์ลัมน์ที่ 1 เป็นค่าที่จะนำคะแนนมาเปรียบเทียบ ส่วนคอร์ลัมน์ที่ 2 เป็นค่าที่จะส่งคืนว่าได้เกรดอะไร
2เป็นตัวเลขตำแหน่งแถวที่จะคืนค่า คือ เกรด นั่นเอง
TRUEต้องการให้เปรียบเทียบแบบใกล้เคียง เพราะคะแนนของนักเรียนส่วนใหญ่จะไม่เท่ากับเกณฑ์หรือ จุดตัดคะแนนที่กำหนด ดังนั้นจึงต้องให้เป็นการเปรียบเทียบแบบใกล้เคียง คือ จะนำคะแนนมาเปรียบเทียบกับข้อมูลในตารางคอร์ลัมน์แรก ถ้าไม่พบ ก็จะเอาค่าที่ใกล้เคียงที่สุด ที่มีค่าน้อยกว่าคะแนนที่นำมาเปรียบเทียบ ดังนั้น สมมุติว่า นำคะแนน 75 มาหาเกรด จะพบว่า คะแนน 75 ใกล้เคียงกับ 60 มากที่สุด เพราะ 80 เป็นคะแนนที่มากกว่า 75 ดังนั้น เกรดที่ได้ หรือค่าที่ส่งคืนไป จึงเท่ากับ 2
6. กดเครื่องหมายถูก สีเขียว จะเห็นเกรด 1 ปรากฎที่ C2 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ระบุไว้ตั้งแต่แรก
7. ทำการคัดลอกสูตร มาไว้จาก C3 จนถึง C6




8. เมื่อปล่อยเมาส์ เกรดของนักเรียนทุกคนตามเกณฑ์ที่กำหนด จะปรากฎให้เห็นทันตา นี่คือการทำงานที่รวดเร็ว และทุ่นแรง ของ Excel


วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เคยรู้จักที่นี่ไหม????










ที่นี่ที่เราเคยไป เราประทับใจ เราว่าเป็นเป็นสิ่งที่สวยงามมาก ในชีวิตการท่องเที่ยวของเรายังไม่ได้ไปที่ที่เดียวคือน้ำตก การเห็นน้ำตกครั้งแรกน่ะ มันเป็นความรูสึกตื่นเต้น เชื่อไหมเราเล่นน้ำไม้ยอวขึ้นเลยจนพ่อต้องบอกว่าขึ้นมาได้แล้วเดี๋ยวจะไม่สบายเราเก็บรายละเอียดของน้ำตกไว้อย่างมากมาย และมีความรู้สึกว่าน้ำตกเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ร้อน น้ำเย็นสดชื่นสบาย ไม่เหมือนทะเลเลยที่เราเคยไปน้ำทะเลมันเค็มและก้อร้อนมาก แต่น้ำตกน่ะเย็นสบาย เราเลยมีที่จะแนะนำให้เพื่อนๆได้รู้จักน่ะค่ะ



น้ำตกวังก้านเหลือง แห่งจังหวัดลพบุรีนี่เองไม่ไกลเลยใช่ใหมเราลองมาดูภาพความประทับใจกันล







วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

วันนี้เรียนคอมพิวเตอร์

วันนี้เรียนฟังก์ชั่น VLOOKUP
เป็นฟังก์ชั่นที่ยังไม่เคยได้เรียนเลยแต่เรียนแล้วก้อมีประโยชน์มากเลย
สามารถนำไปใช้ในที่ทำงานได้เลย